messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลปางกู่
องค์การบริหารส่วนตำบล
ปางกู่

จ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

 

 

 

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลปางกู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
check_circle ประวัติ อบต.บางกู่
ข้อมูลองค์องค์การบริหารส่วนตำบลปางกู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
ประวัติของ อบต.ปางกู่ ที่มาของพระธาตุ “ปรางค์กู่” ข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ภายในตำบลตำบลปางกู่ เป็นโบราณวัตถุก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ไหนไม่ทราบได้ ตามข้อสันนิฐานของกรมทรัพยากรธรณีสันนิฐานว่า พระธาตุปรางค์กู่แห่งนี้ก่อสร้างมาแล้วประมาณ 3,000 ปี เดิมมีคนพบเห็นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2474 ประชาชนที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อน ชาวบ้านดอนกู่หมู่ที่ 1 ตำบลปางกู่ ถือเป็นโบราณวัตถุที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และชนรุ่นหลังได้นับถือสืบทอดกันมาจากปู่ย่าตายายจากรุ่นสู่รุ่น สมัยก่อนนั้นมีความมหัศจรรย์เกิดขึ้นทุกวันพระ จะมีเสียงฆ้องดังออกมาจากพระธาตุปรางค์กู่ และนักโบราณคดีได้เล่าว่าพระธาตุประกู่ได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล สมัยนั้น พ่อเมืองประเทศไทยได้ไปขอพระสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประดิษฐานไว้ที่อำเภอพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม จากนั้นรัฐบาลได้ประกาศไปทั่วว่าได้สร้างเจดีย์ขึ้นที่อำเภอพระธาตุพนม ริมฝั่งแม่น้ำโขง ประชาชนทั่วไปทราบข่าว ได้มาร่วมจิตศรัทธาในการก่อสร้างโดยการนำเพชรนิน จินดา ของมีค่า แก้ว แหวน เงินทอง มาร่วมในการก่อสร้างเจดีย์สมัยนั้น มีประชาชนทางภาคเหนือได้นำสิ่งของเหล่านี้ไปร่วมพิธีเช่นกัน เพื่อก่อสร้างพระธาตุพนม มีพระและญาติโยมร่วมมาด้วย เผอิญมาถึงบ้านดอนกู่พระเกิดอาพาสหนัก(เจ็บท้อง) และมรณภาพในเวลาต่อมา และได้เอาสิ่งของติดตัวมา ประดิษฐานขึ้นไว้เป็นพระธาตุเจดีย์ “พระธาตุปรางค์กู่” พระธาตุปรางค์กู่ เป็นลักษณะโบราณสถานศิลาแลงมีลักษณะผุพังในส่วนบน เป็นซากโบราณสถาน มีเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 59 ตารางวา จดทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 โดยใช้ชื่อในการขึ้นทะเบียนว่า “วัดป่าพระธาตุกู่” องค์การบริหารส่วนตำบลปางกู่ ได้จัดตั้งตั้งแต่ปี 2540 เริ่มจากการยกฐานะมาจากสภาตำบล มี มีพื้นที่รับผิดชอบ 10 หมู่บ้าน ความต้องการของประชาชนในหมู่บ้านยังคงเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบสาธารณูปโภค กลุ่มอาชีพ การประกอบอาชีพ สาธารณสุข การส่งเสริมบุญประเพณีต่างฯ
ประวัติของ อบต.ปางกู่


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลปางกู่
1. สภาพทั่วไป 1.1 ที่ตั้ง ตำบลปางกู่ ประกอบไปด้วย 10 หมู่บ้าน อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 23 กิโลเมตร ทิศเหนือจดเทือกเขาภูพาน ทิศใต้จดตำบลกุดดู่ ทิศตะวันออกจดเทือกเขาภูพาน ทิศตะวันตกจดตำบลกุดดู่ และตำบลบ้านถิ่น สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลปางกู่ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองบัวเงิน ตำบลปางกู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู 1.2เนื้อที่ ตำบลปางกู่มีเนื้อที่ประมาณ 67.37 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 42,106 ไร่ 1.3 ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงติดภูเขา มีความสูงของภูมิประเทศอยู่ระหว่าง 180 – 340 จากระดับน้ำทะเล มีภูเขาสูงอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศเหนือของตำบล 1.4 จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านโสกแคน หมู่ที่ 3 บ้านหนองบัวเงิน หมู่ที่ 4 บ้านหนองแวงป่งสัง หมู่ที่ 5 บ้านโสกปลาขาว หมู่ที่ 6 บ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่ 7 บ้านนิคมหนองจาน หมู่ที่ 8 บ้านนิคมหนองหม่วย หมู่ที่ 9 บ้านนิคมศรีวิไล หมู่ที่ 10 บ้านหนองแวงด่าน 1.5 ท้องถิ่นอื่นในตำบล - จำนวนเทศบาล - แห่ง - จำนวนสุขาภิบาล - แห่ง 1.6 ประชากร ประชากรทั้งสิ้น 5,293 แยกเป็นชาย 2,701 คน หญิง 2,592 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 163.72 คน / ตารางกิโลเมตร
ประชากร

2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1อาชีพ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและทำไร่ ทำสวนยาง และอาชีพรับจ้าง 2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ธนาคาร - แห่ง - โรงแรม - แห่ง - ปั้มน้ำมัน - แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง - โรงสี 18 แห่ง 3 สภาพทางสังคม 3.1 การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง - โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง - โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง - โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง - แห่ง - ศูนย์การเรียนชุมชน 1 แห่ง 3.2 สถานบันและองค์กรทางศาสนา - วัด / สำนักสงฆ์ 13 แห่ง - มัสยิด - แห่ง - ศาลเจ้า - แห่ง - โบสถ์ - แห่ง - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ 4 แห่ง 3.3 สาธารณสุข - โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด - เตียง - แห่ง - สถานีอามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 2 แห่ง - สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง - ร้ายขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจ - แห่ง - สถานีดับเพลิง - แห่ง 4. การบริการพื้นฐาน 4.1 การคมนาคม มีถนนลูกรังเชื่อมต่อกันระหว่างหมู่บ้าน และมีบางหมู่บ้านที่ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4.2 การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง - สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ 16 แห่ง (โทรศัพท์สาธารณะ) 4.3 การไฟฟ้า - จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 1,147 ครัวเรือน 4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ, ลำห้วย 6 แห่ง - บึง หนองและอื่นๆ - แห่ง 4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 10 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 102 แห่ง - บ่อโยก - แห่ง - ประปาหมู่บ้าน 20 แห่ง - อื่น ๆ - แห่ง 5 . ข้อมูลอื่นๆ 5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ พื้นที่ตำบลปางกู่มีทรัพยากรป่าไม้ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำใต้ดินเพียงพอกับความต้องการของชุมชน 5.2 มวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 450 คน ไทยอาสาป้องกันชาติ - รุ่น กองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ - รุ่น รสปส. 1 รุ่น 150 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 2 รุ่น 112 คน อื่นๆ (กลุ่มสตรี) 3 รุ่น 6. ศักยภาพในตำบล ก.ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล 1.จำนวนบุคลากร จำนวนบุคลากรทั้งหมดมี 55 คน คณะบริหาร 4 คน สมาชิกสภาฯ 20 คน พนักงานส่วนตำบล 11 คน ลูกจ้างตามภารกิจ 11 คน ลูกจ้างทั่วไป 2 คน ผดด 8 คน ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล - คน ตำแหน่งในส่วนคลัง - คน ตำแหน่งในส่วนโยธา - คน 2.ระดับการศึกษา ประถมศึกษา - คน อาชีวศึกษา/มัธยมศึกษา - คน ปริญญาตรี - คน สูงกว่าปริญญาตรี - คน 3. รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล 3.1รายได้ปีที่ผ่านมา ประจำปีงบประมาณ 2554 10,276,673 บาท รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 70,100 บาท รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให บาท เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 10,206,573.99 บาท 3.2รายได้ 3 ปีย้อนหลัง (2553 - 2555) งบประมาณ 2553 8,524,935.16 บาท - งบประมาณ 2554 10,276,673.99 บาท - งบประมาณ 2555 10,276,673.99 บาท ข.ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ 1. การรวมกลุ่มประชาชน จำนวนกลุ่มทุกประเภท 24 กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม - กลุ่มอาชีพ 11 กลุ่ม - กลุ่มออมทรัพย์ 12 กลุ่ม - กลุ่มอื่น ๆ - กลุ่ม 2. จุดเด่นของพื้นที่ ตำบลปางกู่เป็นที่ราบติดกับภูเขา มีพื้นที่เหมาะสำหรับปลูกข้าวประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทำนา ราษฎรในตำบลมีความรักความสามัคคีฉันท์พี่น้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามไว้อย่างเหนียวแน่น มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีสถานที่ที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ สภาพปัญหาและความต้องการของ 10 หมู่บ้านในตำบลปางกู่ สภาพปัญหาในตำบลปางกู่ตั้งแต่หมู่ 1 – 10 มีลักษณะปัญหาที่คล้ายคลึงกันดังนี้ 1.ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอและไม่สะอาด เนื่องจากน้ำประปาใต้ดินมีจำนวนจำกัด จะขาดแคลนในฤดูแล้ง 2.ขาดน้ำเพื่อการเกษตร ลำห้วยตื้นเขิน กักเก็บน้ำได้ในปริมาณน้อย ในฤดูน้ำจะแห้งขอด ไม่สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้ ไม่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เนื่องจากขาดงบประมาณ 3.ไฟฟ้าแสงสว่างในหมู่บ้านไม่เพียงพอ 4.เส้นทางการคมนาคมในหมู่บ้าน การคมนาคมเพื่อการเกษตร ไม่สะดวกในบางสาย เนื่องจากงบประมาณในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีน้อย 5.ปัญหาเด็กและเยาวชน ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทะเลาะวิวาท